วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ขั้นตอนการเขียน job description ตัวอย่าง job description

ขั้นตอนการเขียน job description นั้น เป็นอย่างไร ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า JD คืออะไร ครับ
ที่มา งานนโยบายและแผน
ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาและบุคลากร
http://www.swis.montfort.ac.th
Job Description : JD คือ บทพรรณนางานเปรียบเสมือนป้ายชี้ทางในการปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละตำแหน่งงาน ช่วยให้เราได้ทราบถึงภาระกิจ หน้าที่ ของตนเอง ทั้งยังช่วยกำหนดแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงงานอีกด้วย
ทำไม ต้อง JD
1. เป็นเอกสารแสดงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ
2. สะดวกในการศึกษางานในตำแหน่ง
3. ช่วยในการปรับปรุงวิธีการทำงาน
4. ช่วยทบทวนการกำหนดตำแหน่งงาน
5. ช่วยในการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคลให้ง่ายขึ้น
ปัญหาที่มักจะพบบ่อยในการทำงาน คือ
1. ไม่มีผลงานทั้งที่ทำงานมาก
2. ทำทุกอย่างยกเว้นงานในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ
3. ความยากลำบากในการทำงาน การประสานงาน การแก้ปัญหา อำนาจในการตัดสินใจ ตลอดจนการพัฒนางาน
4. ผลการประเมินมักไม่เป็นที่พอใจของแต่ละฝ่าย
5. ขาดความไว้วางใจระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง
สาเหตุดังกล่าวก็คือ “บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ ไม่ชัดเจน”
ดังนั้น เราจึงต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ขอบเขต เงื่อนไขการทำงาน และคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งงานนั้นอย่างชัดเจน และมีหลักฐานอ้างอิงได้ ซึ่งก็คือ Job Description
ปัญหาในการจัดทำบทพรรณนางาน
1. ไม่มีบทพรรณนางาน
2. บทพรรณนางานตาม ISO
3. ไม่เคยเห็นบทพรรณนางาน
4. อ่านครั้งเดียว / ไม่ได้นำมาใช้
5. ไม่ UPDATE
6. งานที่ทำไม่ตรงกับที่เขียน
7. มีหน้าที่หลัก-แฝงปนกันอยู่
8. เขียนไม่เป็น /  See More..

บทความที่ได้รับความนิยม